สสวท.
ในวิชาคณิตศาสตร์
เนื้อหาความรู้ส่วนใหญ่เป็นนามธรรมที่ต้องใช้สัญลักษณ์ ตัวแปร
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (เช่น ตาราง
กราฟ สมการ อสมการ
ฟังก์ชันต่างๆ หรือแบบจำลอง) เข้ามาช่วยสื่อความหมายและนำเสนอให้ความรู้นั้น มีความกะทัดรัดและชัดเจน ใช้สัญลักษณ์ f(x)
แทนฟังก์ชันของตัวแปร
x ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดของ f
ใช้สมการ y =
2x + 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x
และ y ใช้กราฟแท่งหรือแผนภูมิรูปวงกลม เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ เป็นต้น
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่
การนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วยหนังสือเอลเลเมนตส์ (Elements) ที่เขียนโดยยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย
(Euclid of Alexandria : ประมาณ 325 – 265 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกในยุคโบราณ นักคณิตศาสตร์ถือว่า
หนังสือเอลเลเมนส์เป็นผลงานทางคณิตศาสตร์ของยุคลิดที่มีชื่อเสียงที่สุด และเป็นมรดกทางปัญญาที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
เป็นทักษะ /
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ แนวคิดทางคณิตศาสตร์ หรือกระบวนการคิดของตนให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้องชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
การที่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการอภิปลายหรือการเขียน
แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความหมาย เข้าใจได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งและจดจำได้นานมากขึ้นอีกด้วย
เมื่อสภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
ได้กล่าวไว้ในหนังสือหลักการและมาตรฐานสำหรับคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน หนังสือประจำปี ค.ศ. 1996 : Communication in Mathematics K-12 and
Beyond และหนังสือประจำปี ค.ศ. 2001 : The roles of representation
in school mathematics ว่า การสื่อสารและการนำเสนอต้องเป็นจุดเน้นที่สำคัญของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนการสื่อสารและการนำเสนอในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน ที่เชื่อว่าจะทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพดีขึ้น
กิจกรรมที่ส่งเสริมการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
ในการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ นักเรียนจะต้องอาศัยสัญลักษณ์ ตัวแปร
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
หรือแบบจำลองมาช่วยในการนำเสนอแนวคิดหรือการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์มีความกะทัดรัดชัดเจนและง่ายต่อการทำความเข้าใจ ทั้งนี้เพื่อให้ครู เพื่อนนักเรียน หรือผู้เกี่ยวข้อง
สามารถรับรู้แนวคิดหรือการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น นอกจากการเรียนการสอนตามปกติที่ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอระหว่างกันแล้ว
กิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยส่งเสริมการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
ที่ครูสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1. การสืบสวนสอบสวน
2. การเขียนอนุทิน (journal writing)
3. การเขียนรายงาน หรือทำโครงงาน
4. การเขียนโปสเตอร์
สสวท.
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
แหล่งที่มา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น