วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
สสวท.
มนุษย์ทุกคนล้วนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไม่ว่ามากหรือน้อยยกเว้นคนพิการทางสมองที่ไม่อาจใช้ความคิดได้และคนที่ไม่ยอมคิดหรือไม่กล้าที่จะคิดเท่านั้น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ ผลิตผล
ผลิตภัณฑ์อันเป็นประโยชน์เป็นความต้องการของมวลชนซึ่งมีค่า มีราคา
สามารถแปรรูปเป็นทรัพย์สินเงินทองได้
ความหมายของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เป็นกระบวนการคิดที่อาศัยความรู้พื้นฐาน จินตนาการ
และวิจารณญาณ
ในการพัฒนาหรือคิดค้นองค์ความรู้หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีหลายระดับ
ตั้งแต่ระดับพื้นฐานที่สูงกว่าความคิดพื้นๆเพียงเล็กน้อย
ไปจนกระทั่งเป็นความคิดที่อยู่ในระดับสูงมาก บางครั้งมากจนไร้ขอบเขตจำกัด คนอื่นคิดไปไม่ถึง จนมองดูเหมือนว่าเป็นการเพ้อฝัน
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ระดับพื้นฐาน
เป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นกับผู้คนเกือบตลอดเวลาเมื่อต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือแก้ปัญหาที่ใช้วิธีการไม่ยุ่งยาก เช่น
การเดินป่าหรือเดินทางไกลในสมัยก่อนที่ยังไม่มีความสะดวกในการเดินทาง การเตรียมข้าวปลาอาหารไม่อาจนำภาชนะถ้วยชามไปได้
ชาวบ้านจึงมีการหุงข้าวโดยใช้กระบอกไม้ไผ่แทนหม้อข้าวซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นข้าวหลาม
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ระดับสูง
เป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ส่งผลกระทบหรือก่อประโยชน์ที่กว้างขวางต่อมวลมนุษย์
เช่น การคิดสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า
และคอมพิวเตอร์
สำหรับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ระดับสูงในทางคณิตศาสตร์ จะเห็นได้จากผลงานของนักคณิตศาสตร์ที่เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาการบางแขนงทางคณิตศาสตร์ เช่น
วิชาแคลคูลัส
ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีกราฟที่มีประโยชน์ในการวางผังงานจัดระบบการขนส่งหรือลอจิสติกส์
องค์ประกอบที่สำคัญที่นำไปสู่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีดังนี้
1.
ความคิดคล่อง (fluency)
2.
ความคิดยืดหยุ่น (flexibility)
3.
ความคิดริเริ่ม (originality)
4.
ความคิดละเอียดลออ (elaboration)
1. ความคิดคล่อง
ความคิดคล่อง หมายถึง ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้คำตอบจำนวนมากที่
แตกต่างกันหรือหลากหลายวิธี
2. ความคิดยืดหยุ่น
ความคิดยืดหยุ่น
หมายถึง
ความสามารถในการคิดปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ คิดแล้วเลือก /
นำไปใช้ให้ตรงกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่กำหนด
ความคิดยืดหยุ่นจึงเป็นตัวเสริมให้ความคิดคล่องมีความแปลกแตกต่างกันออกไป
3. ความคิดริเริ่ม
ความคิดริเริ่ม
หมายถึง ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้ความคิดที่มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากความคิดพื้นๆ
เป็นความคิดที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่แตกต่างจากความคิดพื้นๆ ที่มีอยู่เดิม
และอาจไม่เคยมีใครนึกหรือคิดมาก่อน
ผู้ที่มีความคิดริเริ่มจะต้องมีความกล้าคิดนอกกรอบ กล้าลองเพื่อทดสอบความคิดของตน และบ่อยครั้งที่ต้องอาศัยความคิดจินตนาการในการประยุกต์
4. ความคิดละเอียดลออ
ความคิดละเอียดลออ หมายถึง
ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้ความคิดที่มีรายละเอียดอย่างลุ่มลึกหลายแง่มุมของแต่ละคำตอบของปัญหาจนกระทั่งสามารถสร้างผลงานหรือชิ้นงานขึ้นมาได้สำเร็จ ความคิดละเอียดลออ เป็นส่วนเสริมให้องค์ประกอบสำคัญ 3 ข้อข้างต้นมีความสมบูรณ์
นำไปสู่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
แหล่งที่มา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
สสวท.
ในปี ค.ศ. 2000 สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
ได้กล่าวไว้ในหนังสือหลักการและมาตรฐานสำหรับคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน ว่า การเชื่อมโยงต้องเป็นจุดเน้นที่สำคัญของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอน การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน
ที่เชื่อว่าจะทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพดีขึ้น สิ่งนี้ส่งผลให้นักการศึกษาทั่วโลกหันมาสนใจศึกษาการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ในทุกระดับชั้นของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในการศึกษาเหล่านั้น
นักการศึกษาสำคัญหลายคนได้นำเสนอแง่คิดต่างๆเกี่ยวกับความหมายของการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และรูปแบบของการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
ความหมายของการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการนำความรู้ เนื้อหาสาระ
และหลักการทางคณิตศาสตร์
มาสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลระหว่างความรู้และทักษะ /
กระบวนการที่มีในเนื้อหาคณิตศาสตร์
กับงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
และการเรียนรู้แนวคิดใหม่ที่ซับซ้อนหรือสมบูรณ์ขึ้น
รูปแบบของการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ อาจจำแนกตามลักษณะการเชื่อมโยงได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์
2. การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
แหล่งที่มา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
สสวท.
ในวิชาคณิตศาสตร์
เนื้อหาความรู้ส่วนใหญ่เป็นนามธรรมที่ต้องใช้สัญลักษณ์ ตัวแปร
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (เช่น ตาราง
กราฟ สมการ อสมการ
ฟังก์ชันต่างๆ หรือแบบจำลอง) เข้ามาช่วยสื่อความหมายและนำเสนอให้ความรู้นั้น มีความกะทัดรัดและชัดเจน ใช้สัญลักษณ์ f(x)
แทนฟังก์ชันของตัวแปร
x ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดของ f
ใช้สมการ y =
2x + 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x
และ y ใช้กราฟแท่งหรือแผนภูมิรูปวงกลม เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ เป็นต้น
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่
การนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วยหนังสือเอลเลเมนตส์ (Elements) ที่เขียนโดยยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย
(Euclid of Alexandria : ประมาณ 325 – 265 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกในยุคโบราณ นักคณิตศาสตร์ถือว่า
หนังสือเอลเลเมนส์เป็นผลงานทางคณิตศาสตร์ของยุคลิดที่มีชื่อเสียงที่สุด และเป็นมรดกทางปัญญาที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
เป็นทักษะ /
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ แนวคิดทางคณิตศาสตร์ หรือกระบวนการคิดของตนให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้องชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
การที่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการอภิปลายหรือการเขียน
แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความหมาย เข้าใจได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งและจดจำได้นานมากขึ้นอีกด้วย
เมื่อสภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
ได้กล่าวไว้ในหนังสือหลักการและมาตรฐานสำหรับคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน หนังสือประจำปี ค.ศ. 1996 : Communication in Mathematics K-12 and
Beyond และหนังสือประจำปี ค.ศ. 2001 : The roles of representation
in school mathematics ว่า การสื่อสารและการนำเสนอต้องเป็นจุดเน้นที่สำคัญของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนการสื่อสารและการนำเสนอในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน ที่เชื่อว่าจะทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพดีขึ้น
กิจกรรมที่ส่งเสริมการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
ในการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ นักเรียนจะต้องอาศัยสัญลักษณ์ ตัวแปร
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
หรือแบบจำลองมาช่วยในการนำเสนอแนวคิดหรือการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์มีความกะทัดรัดชัดเจนและง่ายต่อการทำความเข้าใจ ทั้งนี้เพื่อให้ครู เพื่อนนักเรียน หรือผู้เกี่ยวข้อง
สามารถรับรู้แนวคิดหรือการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น นอกจากการเรียนการสอนตามปกติที่ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอระหว่างกันแล้ว
กิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยส่งเสริมการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
ที่ครูสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1. การสืบสวนสอบสวน
2. การเขียนอนุทิน (journal writing)
3. การเขียนรายงาน หรือทำโครงงาน
4. การเขียนโปสเตอร์
สสวท.
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
แหล่งที่มา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
สสวท.
ความหมายของการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ หมายถึง
กระบวนการการคิดทางคณิตศาสตร์ที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์และ /
หรือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการรวบรวมข้อเท็จจริง/ข้อความ/แนวคิด/สถานการณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ
แจกแจงความสัมพันธ์ หรือการเชื่อมโยง
เพื่อทำให้เกิดข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ใหม่
รูปแบบของการให้เหตุผล
1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย
การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นกระบวนการที่ใช้การสังเกตหรือการทดลองหลายๆครั้งแล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแบบรูปที่จะนำไปสู่ข้อสรุปซึ่งเชื่อว่า
น่าจะถูกต้อง น่าจะเป็นจริง
มีความเป็นไปได้มากที่สุดแต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นจริงและยังไม่พบข้อขัดแย้ง
เรียกข้อสรุปนั้นว่า ข้อความคาดการณ์
ตัวอย่าง
แก้วตาสังเกตว่า ในวันที่โรงเรียนเปิด คุณครูนวลศรีซึ่งมีบ้านอยู่ท้ายซอย
จะขับรถผ่านบ้านของแก้วตาไปโรงเรียนทุกเช้าประมาณ 7.00 น. แต่วันนี้สายแล้ว
แก้วตายังไม่เห็นคุณครูนวลศรีขับรถไปโรงเรียน แก้วตาจึงสรุปเป็นข้อความคาดการณ์ว่า
วันนี้เป็นวันที่โรงเรียนหยุด
พิสูจน์ทางคณิตศาสตร์
ซึ่งถ้าแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่า
ข้อความคาดการณ์เป็นจริงในกรณีทั่วไป
ข้อความคาดการณ์นั้นจะเป็น ทฤษฎีบท ในทางตรงกันข้าม ถ้าสามารถยกตัวอย่างค้าน ได้แม้เพียงกรณีเดียว ข้อความคาดการณ์นั้นจะเป็นเท็จทันที
1. การให้เหตุผลแบบนิรนัย
การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นกระบวนการที่ยกเอาสิ่งที่รู้ว่าเป็นจริงหรือยอมรับว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์
แล้วใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์อ้างจากสิ่งที่รู้ว่าเป็นจริงนั้นเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
การให้เหตุผลแบบนิรนัย ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1) เหตุหรือสมมติฐาน
ซึ่งหมายถึง
สิ่งที่เป็นจริงหรือยอมรับว่าเป็นจริงโดยไม่ต้อง
พิสูจน์ ได้แก่
คำอนิยาม บทนิยาม สัจพจน์
ทฤษฎีบทที่พิสูจน์แล้ว
กฎหรือสมบัติต่างๆ
2) ผลหรือผลสรุป
ซึ่งหมายถึง
ข้อสรุปที่ได้จากเหตุหรือสมมติฐาน
ในทางคณิตศาสตร์
การให้เหตุผลแบบนิรนัย ประกอบด้วย
1.คำอนิยาม
หมายถึง
คำที่เราไม่ให้ความหมายหรือให้ความหมายไม่ได้ แต่เข้าใจ
ความหมายได้ โดยอาศัยการรับรู้จากประสบการณ์ ความคุ้นเคย
หรือสมบัติที่เข้าใจตรงกันเช่น กำหนดให้คำว่า
จุด เส้น และระนาบ
เป็นคำอนิยามในเรขาคณิตแบบยุคลิด
2.บทนิยาม
หมายถึง
ข้อความแสดงความหมายหรือคำจำกัดความของคำที่
ต้องการ โดยอาศัยคำอนิยาม บทนิยามหรือสมบัติต่างๆที่เคยทราบมาแล้ว เช่น
กำหนดบทนิยามว่า
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ
รูปที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
และมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
3.สัจพจน์ หมายถึง ข้อความที่เรายอมรับหรือตกลงว่าเป็นจริงโดยไม่ต้อง
พิสูจน์ เช่น
กำหนดให้ข้อความว่า
ระหว่างจุดสองจุดใดๆจะมีส่วนของเส้นตรงเชื่อม เป็นสัจพจน์ในเรขาคณิตแบบยุคลิด
4.ทฤษฎีบท
หมายถึง
ข้อความที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงซึ่งในการพิสูจน์อาจ
ใช้บทนิยาม สัจพจน์
หรือทฤษฎีบทอื่นๆที่ได้พิสูจน์ไว้ก่อนแล้ว
มาอ้างอิงในการพิสูจน์
ข้อความที่เป็นทฤษฎีบทควรเป็นข้อความที่สำคัญ
มักนำไปอ้างอิงในการพิสูจน์ข้อความอื่นๆหรือนำไปใช้แก้ปัญหาต่อไป
สสวท.
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
แหล่งที่มา
National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and Standards
for School Mathematics. Reston, Virginia : National Council of Teachers of Mathematics.
Simon, Singh. (1998). Fermat’s Last Theorem. London : Fourth Estate Limited
การแก้ปัญหาทางคณิตศาตร์
โดย สสวท.
ความหมายของปัญหาและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ปัญหา หมายถึง
สถานการณ์ที่เผชิญอยู่และต้องการค้นหาคำตอบ
โดยที่ยังไม่รู้วิธีการหรือขั้นตอนที่จะได้คำตอบของสถานการณ์นั้นในทันที
ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง
สถานการณ์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ซึ่งเผชิญอยู่และต้องการค้นหาคำตอบ
โดยที่ยังไม่รู้วิธีการหรือขั้นตอนที่ได้คำตอบของสถานการณ์
นั้นในทันที
และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
หมายถึง
กระบวนการในการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์
ขั้นตอน
/กระบวนการแก้ปัญหา ยุทธวิธีแก้ปัญหา
และประสบการณ์ที่มีอยู่ไปใช้ในการค้นหาคำตอบของปัญหาทางคณิตศาสตร์
กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหาที่ยอมรับและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
คือ
กรระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา
(Polya) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ
4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา
ขั้นที่
2
ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นที่
3 ขั้นดำเนินการตามแผน
ขั้นที่
4 ขั้นตรวจสอบผล
ขั้นที่
1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา
ในขั้นตอนนี้ข้องทำความเข้าใจปัญหาและระบุส่วนสำคัญของปัญหา ซึ่งได้แก่ ตัวไม่รู้ค่า ข้อมูลและเงื่อนไข อาจใช้วิธีต่างๆช่วยในการทำความเข้าใจปัญหา
เช่นการเขียนรูป
การเขียนแผนภูมิ หรือการเขียนสาระปัญหาด้วยถ้อยคำของตนเอง
ขั้นที่
2
ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นตอนนี้เป็นการค้นหาความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและตัวไม่รู้ค่า
แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาผสมผสานกับประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เพื่อกำหนดแนวทางหรือแผนในการแก้ปัญหา
ขั้นที่
3 ขั้นดำเนินการตามแผน
ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนลงมือปฏิบัติตามแนวทางหรือแผนที่วางไว้ โดยเริ่มจากการตรวจสอบความเป็นไปได้ของแผน
เพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆของแผนให้ชัดเจน
แล้วลงมือปฏิบัติจนกระทั่งสามารถหาคำตอบได้
ขั้นที่
4 ขั้นตรวจสอบผล
ขั้นตอนนี้ต้องการให้มองย้อนกกลับไปยังคำตอบที่ได้มา โดยเริ่มจากการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมเหตุสมผลของคำตอบและยุทธวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ แล้วพิจารณาว่ามีคำตอบหรือยุทธวิธีแก้ปัญหาอย่างอื่นอีกหรือไม่
วิลสัน (Wilson)
และคณะ จึงได้เสนอแนะกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาที่แสดงความเป็นพลวัตร มีลำดับไม่ตายตัว สามารถวนไปวนมาได้ ดังแผนภูมิ
กระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นพลวัตตามแนวคิดของวิลสันและคณะ
ยุทธวิธีแก้ปัญหา
ยุทธวิธีแก้ปัญหาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ดีที่พบบ่อยในคณิตศาสตร์
มีดังนี้
1. การค้นหาแบบรูป
2. การสร้างตาราง
3. การเขียนภาพหรือแผนภาพ
4. การแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด
5. การคาดเดาและตรวจสอบ
6. การทำงานแบบย้อนกลับ
7. การเขียนสมการ
8. การเปลี่ยนมุมมอง
9. การแบ่งเป็นปัญหาย่อย
10. การให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์
11. การให้เหตุผลทางอ้อม
12. เชื่อมโยงกับปัญหาที่คุ้นเคย
13. การวาดภาพ
14. การสร้างแบบจำลอง
15. ลงมือแก้ปัญหา
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
1. การแก้ปัญหาทางคณิตศาตร์
2. คณิต ศาสตร์กับการ แก้ ปัญหา
3. เทคนิคในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา
4. การแก้ปัญหา
5. ยุทธวิธีการแก้ปัญหา
1. การแก้ปัญหาทางคณิตศาตร์
2. คณิต
3. เทคนิคในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา
4. การแก้ปัญหา
5. ยุทธวิธีการแก้ปัญหา
แหล่งที่มา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สสวท.
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผล กระบวนการคิด และการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ช่วยเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุผล มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
ตลอดจนมีทักษะการแก้ปัญหา ทำให้สามารถคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ยิ่งกว่านั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่นๆ
ทำให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมากมายในทุกวันนี้
ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เนื่องจากนักการศึกษาคณิตศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็น ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่หันมาใส่ใจส่งเสริมทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในทุกระดับชั้นของหลักสูตรคณิตศาสตร์ ยังมีประเทศอื่นๆ
อีกทั่วโลกที่สนใจส่งเสริมทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยเช่นกัน เช่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา สภาครูคณิตศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา (National Council
of Teachers of
Mathematics หรือ NCTM) ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ได้เสนอหนังสือมาตรฐานหลักสูตรและการประเมินผลคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน ในปี
ค.ศ.1989
และหนังสือหลักการและมาตรฐานสำหรับคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน
ในปี
ค.ศ.2000 ว่าด้วยมาตรฐานทางด้านทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ที่ควรส่งเสริมให้นักเรียนระดับโรงเรียนได้เรียนรู้ฝึกฝนทักษะและพัฒนาให้ดีขึ้น
ประกอบด้วยการแก้ปัญหา กรให้เหตุผลและการพิสูจน์ การสื่อสาร การเชื่อมโยงและการนำเสนอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้นักการศึกษาทั่วโลกรวมทั้งนักการศึกษาของไทยหันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับ
ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ มากยิ่งขั้น
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
1. การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
2. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. การจัดการเรียนการสอนที่มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
แหล่งที่มา
2. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. การจัดการเรียนการสอนที่มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
แหล่งที่มา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)